วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่9 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                                      
                         บทที่9 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Computer Network
      ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลลข่าวสาร รวมถึงการใช้ทรัพยากรบางอย่างของระบบรวมกันได้

วัตถุประสงค์ของการใช้เครือข่าย
     การนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้งาน พอจะแบ่งวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1. ใช้ทรัพยากรร่วมกัน คือเพื่อใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ พื้นที่ในดิสก์
2. ใช้ข้อมูลไฟล์ร่วมกัน ใช้ในกรณีที่ต้องการใช้ข้อมูลชุดเดียวเรีบกใช้จากหลายเครื่อง เช่น กรณีข้อมูลซึ่งมีเพียงชุดเดียวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
3. ความง่ายในการดูแลระบบ ทำให้สามารถดูแลและบริหารระบบได้จากทีเดียว เช่น ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบสถานะการทำงาน ตืดตั้งหรือถอดถดนข้อมูล

ประเภทของเครือข่าย
  ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปอาจแบ่งได้กว้างๆเป็น 2 ลักษณะคือ
1. Locai Area Network LAM ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัยในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดีนวกัน หรือบริเวณอาคารใกล้เคียงที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง
2. Wide Area Network WAN เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ LAN ในที่ต่างๆเข้าด้วยกันผ่านระบบสื่อสาร อื่นๆ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์สายเช่า

ข้อจำกัดของระบบเครือข่าย
  ในการนำระบบเครือข่ายมาใช้งานผู้ว่างระบบจะต้องคิดให้รอบคอบว่าการติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายนั้นจะทำงานได้ตามต้องการหรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร และควรใช้เทคโนโลยีอย่างไร จากที่ไม่มีให้เลือกมากมาย ซึ่งสรุปผลที่ได้แตกต่างกันไปในแต่ละงาน เช่น บางงานอาจเหมาะสมที่จะต่อระบบ LAM ความเร็วสูง บางงานควรต่อกับอินเตอร์เน็ต หรือบางงานควรปล่อยเครื่องนั้นไว้เดี๋ยวๆ อย่าให้ต่อกับใครเลยจะดีกว่า เป็นต้น ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายมีหลายอย่าง เช่น
1. การเรียกใช้ข้อมูลทำได้ช้า
2. ข้อมูลไม่สามารใช้ได้ทันที
3. ยากต่อการควบคุมและดูแล

องค์ประกอบของเครือข่าย
  ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ Hardware
  อุปกรณ์หลักๆคือ การ์ด LAN กับอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเข้าเป็นระบบเครือข่าย คือรวมสายหรือ Hub
การ์ด LAN Network interface Card -NIC
  เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่อพีซีเข้ากับสาย LAN ดังนั้น จึงต้องช่องสำหรับเสียบสายเคเบิลแบบใดแบบหนึ่ง

 Hub หรือตัวรวมสาย
  เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการต่อ LAN ในปัจจุบัน hub แต่ละตัวจะมีพอร์ตที่มีจำนวนต่างๆกัน เช่น 5,8,10,16และ24 พอร์ตหรือมากกว่านั้น ข้อดีของการใช้ hub คือทำให้เกิดลักษณะการเดินสายที่คล้ายกับstar แต่ทำงานในแบบ bus คือทุก node จะส่งสัญญาณถึงกันได้หมด แต่ถ้ามี node ใดหรือสายใดมีปัญหาผิดปกติก็สามารถดึงออกได้ง่ายโดยปลดออกจาก hub เลย นอกจากนั้นยังสะดวกในการโยกย้ายสาย สลับเครื่อง เพิ่มจำนวนเครื่อง เพราะสายทั้งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเราอาจทำเป็นตู้หรือห้องขึ้นมาเก็บสายให้เรียบร้อย wiring closet ก็ได้
ซอฟต์แวร์ Softwart
  จึงได้โปรแกรมต่าๆตั้งแต่โปรแกรมที่เป็นไดรเวอร์ควบคุมการ์ด LAN โปรแกรมที่จัดการโปรโตคอลในการติอต่อสื่อสาร เช่น IPX/SPX, TCP/IP โปรแกรมควบคุมระบบที่มีความสามารถทำงานกับเครือข่าย เช่น Netware Windows, Linux หรือ Unix และรวมถึงโปรแกรมสำหรับจัดการสื่อสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

ตัวกลางนำข้อมูล Media
  เมื่อพูดถึงตัวกลางนำข้อมูลในระบบเครือข่าย ก็อาจเป็นได้ตั้งแต่สายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สาย coaxial. UTP Unshielded Twisted-Pair คลื่นวิทยุที่ใช้กลับ Wireless LAN หรือ แม้แต่ fiber-optic ซึ่งใช้ในระบบ LAN ไปจนถึงเครือข่ายสื่อสารระยะไกล เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ , ระบบ ISDN, เครือข่าย packet switching ของผู้ให้บริการโดยเฉพาะ อย่างเช่น การสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งในกรณีของระบบ LAN ไม่รวมถึง LAN ไร้สาย มีประเด็นที่ควรพิจารณาอยู่หลายประการ คือ
สายเครเบิลที่ใช้
ลักษณะของสัญญาณไฟฟ้าที่รับส่งกัน
ลักษณะการแบ่งกันใช้สาย media access control

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนักอาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กันเช่น ภายในมหาวิทยาลัยอาคารสำนักงานคลังสินค้าหรือโรงงานเป็นต้นการส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย




MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง


เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร

WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
Picture

 เป็น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้แบ่งตามลักษณะ การไหลของข้อมูล มีดังนี้

 
                           โครงข่ายแบบรวมอำนาจ (Centralized Networks)


Picture 

           โครงข่ายแบบรวมอำนาจนี้ประกอบด้วยรูปแบบย่อย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ

                - โครงข่ายแบบล้อ (Wheel Network) เป็นรูปแบบที่รวมอำนาจมากที่สุด ข่าวสารทุกอย่างจะต้องไหลผ่านบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของล้อ
                - โครงข่ายแบบลูกโซ่ (Chain Network) เป็นรูปแบบที่สมาชิกบางคนสามารถติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนอื่น ๆได้มากกว่า 1 คน
อย่างไรก็ตามบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของลูกโซ่ยังคงเป็นผู้ควบคุมข่าวสารทั้งหมด
                - โครงข่ายแบบ Y (Y Network) เป็น
รูปแบบผสมระหว่างแบบล้อกับแบบลูกโซ่                        โครงข่ายแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Network)
 
                 
                - โครงข่ายแบบวงกลม (Circle Network) เป็นรูปแบบที่อนุญาตให้สมาชิกแต่ละคนสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ อยู่ติดกันได้ทั้ง 2 ข้าง
                - โครงข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจมากที่สุด รูปแบบนี้จะเปิดโอกาสให้
สมาชิกแต่ละคนที่จะติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนใดก็ได้ โดยไม่จำกัดเสรีภาพแบ่งตามลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้                                      ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

งานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone)                        ข้อดีและข้อด้อยของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

Ò  ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่าย
ในการจัดตั้งระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

Ò  ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ                                   ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
                            รูปแสดงตัวอย่างโครงสร้างระบบเครือข่ายแบบ Client/Serverเป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง
เลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบเครือข่าย                                    เทคโนโลยีระบบเครือข่าย LAN
LAN (Local Area Network) คือเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงและทนทานต่อการเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรับส่งข้อมูล เครือข่าย LAN นั้นจะครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก โดยปกติจะเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ไม่ห่างกันมากนัก
                                              อีเทอร์เน็ต (Ethernet)

อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณ เส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub)        วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก
        ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อม
สายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที                                             โทเก็นริง (Token Ring)


 

โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่เกิดการสูญหายของข้อมูล

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)
การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแบบไร้สาย นั้นมีอยู่ 2 เทคโนโลยี คือ แบบใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) และแบบใช้สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งแบบใช้คลื่นความวิทยุยังแบ่งการส่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Narrowband และ Spread-Spectrum ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

            แบบคลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) ใช้ลักษณะการแปลงข้อมูลไปเป็นคลื่นทำให้สามารถส่งไปได้ระยะทางที่ไกล สามารถ
ผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี ร่วมทั้งเป็นการส่งแบบทุกทิศทาง

การรับส่งโดยใช้คลื่นวิทยุนั้นมี 2 ประเภท

        1.แบบคลื่นความถี่แคบ (narrowband) จะรับส่งข้อมูลโดยแปลงเป็นบางช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า ISM ( Industrial
/ Scientific / Medical ) ที่มีความถี่แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 902-928 MHz, 2.14 - 2.484 MHz และ 5.725 - 5.850 MHz โดยการใช้งานต้องมีการขออนุญาตก่อนจาก FCC (Federal Communication Committee)        2. คลื่นความถี่วิทยุแบบ Spread-Spectrum เป็นการวิธีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ความถี่วิทยุ มากกว่าความต้องการเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนและการดักฟัง ที่มีความถี่แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 902 - 928 MHz และ 2.4 - 2.484 MHz ซึ่งไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก FCCแบบสัญญาณอินฟราเรด (Infrared)
โดยอินฟราเรดเป็นส่วนหนึ่งของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่เหนือคลื่นวิทยุ และต่ำกว่าแสงที่มองเห็น โดยแสงอินฟราเรดสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงแม้ว่าการส่งจะถูกจำกัดให้เป็นแนว เส้นตรง และที่จะต่อเครื่องพีซีเข้ากับเครื่องพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยไร้สาย          รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย
                                                                      
                                                รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย


เลือกระบบปฏิบัติการที่ใช้ในระบบเครือข่าย                                      ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบัน

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบันมีอยู่หลายตัวให้เลือกใช้ ทั้งที่สามารถใช้งานได้ ฟรี และต้องเสียค่าใช้จ่าย จำเป็นที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาเลือกให้มีความเหมาะสมมากที่สุดกับ ระบบเครือข่ายที่ออกแบบไว้
                  
             -  Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์               - Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆไป                - NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้                - OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

                                                      การออกแบบระบบ
เมื่อผู้ออกแบบระบบเครือข่ายมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนั้นก็สามารถลงมือทำ การออกแบบระบบเครือข่ายได้ โดยในการออกแบบเครือข่ายนั้นอาจทำโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดและออกแบบได้ เช่น Microsoft Visio    
รูปแสดงตัวอย่างการออกแบบระบบเครือข่าย

                                       
                                            การติดตั้งและพัฒนาระบบ

ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบระบบเครือข่ายอาจมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญการ ทำการ ติดตั้งได้หรือมอบหมายให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเขามาดำเนินการ โดยจะต้องเขาควบคุม ตรวจสอบให้การติดตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและใช้งานได้อย่างดีตามที่ได้ออกแบบไว้

สรุปท้ายบทที่ 9 เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำเสนอคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสามารถทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการคือ การใช้ข้อมูลทำได้ช้า ไม่สามารถทำได้ทันทีและยากต่อการควบคุมดูแลในบางกรณี ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปอาจแบ่งได้กว้างๆ เป็น  2ลักษณะคือ LANและ WANองค์ประกอบของเครือข่ายประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และตัวกลางนำข้อมูล ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่สายเคเบิลชชิดต่างๆ เช่น สาย Coaxial,สาย UTP, คลื่นวิทยุ,สาย Fiber Optic เป็นต้น
        เครือข่ายแบบไร้สาย คือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์คือไม่ต้องเดินสายเหมือน  LANแบบอื่น เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือที่ไม่สะดวกเดินสาย แต่จะทำความเร็วได้ต่ำกว่าแบบใช้สายหลายเท่า
   การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมี2แบบใหญ่ๆ คือ Peer-to-Peer ซึ่งทุกเครื่องจะมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน  และแบบ   Server-based ซึ่งมีบางเครื่องทำหน้าที

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

1.
นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ตอบ. เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลายๆแผนก หรือมีหน่วยงานที่ต้องติดต่อร่วมกันอยู่ในพื้นที่ระยะไกล เช่น ข้ามจังหวัดหรือประเทศ การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย จึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้

2.
ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆเครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลได้ช้าเพราะข้อจำกัดทางสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง นอกจากนี้ยังอาจทำให้ยากต่อการควบคุมและดูแลได้เพราะมีผู้ใช้หลายคนร่วมกัน อีกทั้งข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูลอยู่เป็นต้น

3.
สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
ตอบ. สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากมีราคาถูกและติดตั้งได้
ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์ มี 8 เส้นตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน การเดินสายต้องต่อจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ hubเท่านั้น

4.
จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
ตอบ. วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย ฟังว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญญาณออกมา ซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้นจากหลายๆสถานีพร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง ฟังและเข้าใจว่าสายว่างพร้อมๆกัน ผลก็คือสัญญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของสัญญาณได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอ โดยนับถอยถอยหลังตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่

5.
จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
ตอบ. Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่าย มักมีหน้าที่และชื่อเรียกที่แตกต่างกันแล้วแต่การลักษณะการให้บริการ เช่น mail server, file server, web server,
pint server
หรือ database server เป็นต้นClient คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเพื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั่นเอง

6. HUB
คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
ตอบ. ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยกย้ายสาย สลับเครื่องหรือเพิ่มจำนวนเครื่องได้ เนื่องจากสายทั้งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเราอาจทำเป็นตู้หรือห้องไว้เก็บสายให้เรียบร้อยด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัว เช่น 5, 8, 10, 16 และ 24 พอร์ตหรือมากกว่านั้น เป็นต้น

7.
จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
-100Base-T
เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิม คือสายUTP แบบ Category 5หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ hub ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
-Gigabit Ethernet
หรือเรียกกันเป็น 1000Base-T (สาย UTP) หรือ 1000Base-F (สาย Fiber optic) สามารถส่งข้อ

มูลได้ในระดับความเร็ว 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้สามารถรับงานจากเครื่องอื่นๆได้มากพร้อมกัน สายที่ใช้อาบพบเห็นได้ทั้งแบบ UTP (ความยาวไม่มากนัก) และแบบไฟเบอร์ออพติก
-Gigabit Ethernet
เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่นๆ คือทำได้ถึง 10,000 Mbps หรือ 10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมือง หรือ WAN เป็นต้น

8.
จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายแบบโคแอกเชี่ยล
ตอบ. สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมากใช้กับเครือข่ายแบบ Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสายแบบอื่นที่มีราคาถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า

9.
จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Routerตอบ. Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปข้อมูลตามแบบของเครือข่ายที่จะส่งต่อนั้นด้วย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น