วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                                  บทที่ 12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
E-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าหรือบริการต่างๆ
ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 ยุคการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)
แนวคิดที่จะให้คอมพิวเตอร์ของคู่ค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารกัน
ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง
นิยมใช้น้อย เพราะมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูง
ใช้เฉพาะในวงการอุตสาหกรรมหรือการค้าเฉพาะทางที่มีผู้เกี่ยวข้องเพียง
ไม่กี่ฝ่ายเท่านั้น
วิวัฒนาการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ยุคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  ยุคของอินเทอร์เน็ตที่แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว
เข้าถึงการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่วๆ ไป
มีคอมพิวเตอร์และต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้
มีโปรแกรมรองรับที่ดีมากยิ่งขึ้นเช่น browser
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีต้นทุนที่ถูกลง
 โปรแกรมสำหรับดูข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

 

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แบ่งได้ตามความสัมพันธ์ทางการตลาด (market relationships) ระหว่าง
ผู้ซื้อและผู้ขายได้ 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
 แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business-to-Business)
แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C : Consumer-to-Consumer)
แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C : Business-to-Consumer)
แบบธุรกิจกับธุรกิจ
(B2B : Business-to-Business)
การทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง
การซื้อขายจะเป็นปริมาณมากและมีราคาสูงพอสมควร
มักพบในตลาดกลางที่เรียกว่า E-marketplace
ตัวอย่างเช่น pantavanij, tradepointthailand, worldbidthailand
แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค
(C2C : Consumer-to-Consumer)
กิจกรรมซื้อขายสินค้าหรือบริการเกิดขึ้นระหว่างผู้บริโภคคนสุดท้าย
ผู้ซื้อและผู้ขายจะติดต่อแลกเปลี่ยนรายการซื้อขายด้วยตนเอง
มักพบเห็นในสินค้าประเภทมือสอง หรือสินค้าประมูล
 ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ebay, pramool
แบบธุรกิจกับผู้บริโภค
(B2C : Business-to-Consumer)
 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นมากที่สุด
 ผู้ประกอบการใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กับ
ผู้บริโภคจำานวนมากเพื่อให้เข้าถึงได้โดยตรง
 ร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเป็นร้านค้าเสมือนจริง
(Virtual store-front)
ตัวอย่างเช่น thaigem, amazon, misslily
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์( E-Government)
บริการของภาครัฐที่นำเสนอข้อมูลให้กับประชาชนรวมถึง
การแสวงหารายได้บางประเภทผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
ใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
หน่วยงานของรัฐ
ตัวอย่าง เช่น บริการการเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต บริการข้อมูล
ของกรมการปกครอง เป็นต้น
 

ประตูสู่การบริการภาครัฐ
หรือ TGW (Thailandgateway)

ขั้นตอนการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 ขั้นตอนการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่หลากหลายขั้นตอนมาก ซึ่งไม่ได้มีแค่ตอนสั่งซื้อขายและชำระเงินเพียงเท่านั้น  หากยังรวมถึงกิจกรรมก่อนหน้าและหลังจากนั้นด้วย
ขั้นตอนที่ 1 : การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
มีรูปภาพประกอบและสีสันที่ดึงดูดใจและอยากเข้ามาเยี่ยมชม
การใส่ข้อมูลหรือเนื้อหาที่เป็นเชิงมัลติมีเดีย (ไม่มากเกินไป)
ออกแบบให้เข้ากับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มี
      เว็บไซต์บริการเรียนดำนำ
ออกแบบขั้นตอนวิธีใช้ที่ง่ายและสะดวก
วิธีใช้งานหรือ ขั้นตอนที่ดี ทำให้ลูกค้าไม่สับสน
มีการจัดวางส่วนของรูปแบบ navigation
สร้างระบบที่เรียกว่าแผนผังไซต์ (site map) เพื่อให้ทราบเนื้อหาโดยรวม
แบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหาหรือข้อมูลสินค้าภายในเว็บไซต์อย่างชัดเจน
   ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
มีการเปลี่ยนแปลงให้มีอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ
ทำให้น่าสนใจและเป็นปัจจุบันที่สุด
อาจมีการบอกกล่าวว่ามีอะไรใหม่บ้างในเว็บไซต์
เว็บไซต์รับจองโรงแรมและ package ท่องเที่ยว รวมถึงแสดงรายการโปรชั่นใหม่
ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
ไม่เหมือนคนอื่นทำให้น่าสนใจได้ดีกว่า
มีคำวิจารณ์หรือ review สินค้าจากผู้ใช้คนอื่น รวมถึง
สร้างระบบค้นหาสินค้าที่ใกล้เคียงกัน เช่น เว็บขายสินค้าประเภทหนังสือ
ใช้คอมพิวเตอร์จำลองภาพสามมิติให้เห็นรูปลักษณ์หรือสเป็คภายใน
เช่น เว็บเกี่ยวกับรถยนต์
สร้างระบบช่วยเลือกรุ่น แบบ อุปกรณ์อื่นให้ลูกค้า เช่น เว็บขาย
คอมพิวเตอร์ประกอบ
เว็บไซต์ขายรถยนต์ที่ให้ผู้ใช้เลือกสีรุ่นของรถที่มีอยู่เปรียบเทียบดูได้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่ 2 : การโฆษณาเผยแพร่หรือให้ข้อมูล
ลงประกาศตามกระดานข่าว
กระดานข่าวเป็นลักษณะของโปรแกรมบนเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือสร้างประเด็นเนื้อหาเฉพาะกลุ่ม
สามารถทำได้ฟรี หรือหากมีอาจเสียค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย
นิยมพิมพ์เป็นข้อความ (text) บอกถึงคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ
อย่างคร่าวๆ โดยผู้ให้บริการบางรายอาจยินยอมให้เผยแพร่รูปภาพ
ตัวอย่างได้
การลงประกาศโฆษณาขายสินค้าบนกระดารข่าว
จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
การเอารูปภาพบ่งบอกความหมายและอธิบายแนวคิดบางอย่างของ
ตัวสินค้ามาสร้าง banner
พบเห็นได้หลายชนิด เช่น แบบยาวที่ติดตั้งไว้ส่วนบนและส่วนล่างของ
หน้าเว็บเพจ หรือแบบเล็กๆ ที่ติดไว้ส่วนกลางหรือด้านข้างของตัวเว็บ
ใช้เทคนิคแปลกๆเหมือนกับการสร้างป้ายโฆษณาจริง
อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการลงโฆษณาผ่านกระดานข่าว
สร้างโฆษณาผ่านอีเมล์
อาศัยการสร้างข้อความเอกสารคล้ายๆกับแผ่นพับหรือโบรชัวร์
เพื่อแจ้งข่าวสาร
ผู้ขายสินค้าจะรวบรวมรายชื่ออีเมล์ลูกค้าจำนวนมาก
และทำการส่งออกไปเป็นเอกสารเว็บในคราวเดียวกัน
อาจได้ผลไม่ดีนัก หากเป็นการส่งจดหมายโฆษณาสินค้า
ที่มีความถี่หรือบ่อยเกินไป
เผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
วิธีที่มีการใช้งานกันมาอย่างยาวนานและอาจให้ผลดีเช่นเดียวกัน
พบเห็นได้กับการเผยแพร่ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์หรือสื่ออื่นๆ
การใช้ภาพ สีสัน หรือข้อความมีการกระตุ้นให้เกิดความต้องการ
ซื้อสินค้าหรือบริการ
อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบอื่นๆ
โฆษณาเว็บไซต์บนรถโดยสารประจำทางของผู้ให้บริการข้อมูลบันเทิง

ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
มีผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล (search engine) อยู่มากมาย เช่น Google,
Yahoo, Lycos, Astalavista, Sanook หรือ Hunsa
อาศัยบริษัทตัวกลางที่ทำหน้าที่ดำเนินการให้แบบเสร็จสรรพ
และลงทะเบียนกับผู้ให้บริการได้เป็นจำานวนมาก
หรือแจ้งไปยังผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลได้โดยตรง
วิธีนี้อาจทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักกับคนทั่วโลกได้ง่ายมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 : การทำรายการซื้อขาย
ประกอบด้วยการทำรายการสั่งซื้อ
หรือ order
บางแห่งมีระบบที่เรียกว่า รถเข็นสินค้า
(shopping cart)
รองรับการชำระเงินหลายๆแบบ
ที่นิยมมากเช่น บัตรเครดิต
เพื่อให้ระบบน่าเชื่อถือ อาจต้องเข้ารหัส
ข้อมูลที่รับส่งด้วย

วัตถุประสงค์ของการเข้ารหัสข้อมูล
รักษาความลับ คือการป้องกันการดักอ่านข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
ผู้ซื้อและผู้ขายจริงเท่านั้นที่จะติดต่อกันได้
เชื่อถือได้ คือถูกต้องตรงกัน ผู้ใดมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ หากมีการแก้
ก็สามารถทราบได้ทันที เพราะผู้ที่แอบแก้ไขข้อมูลนั้น จะไม่สามารถเข้ารหัส
ใหม่ให้เหมือนเดิมได้
พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย คือยืนยันว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายเป็น
ผู้ทำการเข้ารหัสและส่งเอกสารนี้ออกมาจริงๆ เมื่อผู้ซื้อได้ทำการสั่งซื้อไป
ผู้ขายเองจะไม่ส่งของหรือเปลี่ยนแปลงราคาภายหลังไม่ได้
ตัวอย่างของการใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตของเว็บไซต์ thaiepay .com
ขั้นตอนที่ 4 : การส่งมอบสินค้า
สินค้าที่จะจัดส่งได้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
สินค้าที่จับต้องได้ (hard goods)
สินค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีตัวตนและจับต้องได้ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า รองเท้า
เครื่องประดับ สินค้าหัตถกรรม
สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (soft goods)
เป็นสินค้าที่อยู่ในรูปดิจิตอล เช่น ข้อมูลข่าวสาร เพลง รูปภาพ เอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
การจัดส่งสินค้าแบบจับต้องได้ (hard goods)
อาศัยวิธีการส่งสินค้าตามปกติทั่วไป เช่น ระบบไปรษณีย์ทางเรือ
ทางอากาศ
มีผู้ให้บริการหลายราย เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือ กสท.
(ถูกและประหยัด)
หากต้องการเร่งด่วนและเร็ว อาจเลือกใช้ผู้ให้บริการรายอื่น เช่น FedEX,
DHL หรือ UPS
การจัดส่งสินค้าแบบจับต้องไม่ได้ (soft goods)
อาจใช้วิธีให้ลูกค้าดาวน์โหลด เช่น ซอฟต์แวร์ทางคอมพิวเตอร์ เพลง
หรือไฟล์ภาพ
ผู้ขายอาจมีการจำกัดจำนวนครั้งในการดาวน์โหลด
สินค้าบางอย่างอาจให้ดาวน์โหลดได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเพิ่ม
หากไฟล์มีขนาดใหญ่มาก บางรายอาจทำเป็นแผ่น CD
และส่งทางไปรษณีย์แทนได้
ขั้นตอนที่ 5 : การบริการหลังการขาย
นิยมใช้กับสินค้าที่มีขั้นตอนการใช้ที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
ไม่สามารถทำความเข้าใจได้โดยทันที
ช่วยแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ทำได้โดยจัดตั้งเป็นศูนย์บริการลูกค้าหรือ call center
บางบริษัทอาจสร้างระบบปัญหาถามบ่อยหรือ FAQ
(Frequency Ask Question)
 


 
สรุปท้ายบทที่ 12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือรบริการะหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย  โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งแต่เดิมจะใช้ระบบ  DEI หรือ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  ทำให้ผู้ค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารทางการค้าได้โดยตรงแต่ก็มีความนิยมค่อนข้างน้อยเพราะมีค้าใช้จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูง ซึ่งมีใช้เฉพาะในวงการอุสาหกรรมบางกลุ่ม หรือการค้าเฉพาะทางเท่านั้น  จนกระทั่งอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานแพร่หลาย การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายมาเป็นการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตแทน  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ากันมาก
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นมาสุด  สามารถแยกออกได้ 3 รูปแบบ คือ ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) , ผู้บริโภคกับผู้บริโภค  (C2C) และธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับขั้นตอนการค้านั้นประกอบด้วย  การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล การทำรายการซื้อขาย

แบบฝึกหัดท้ายบทที่12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบมาอย่างน้อย 3 ช่องทางตอบ. ช่องทางที่พบได้ในการนำมาใช้ทางการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
             - ระบบโทรศัพท์บ้าน
   ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุดคือ บริการหมายเลข 1900 ขององค์การโทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการจะแจ้งเบอร์หรือหมายเลขให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านโทรศัพท์ได้โดยตรง           
             - ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่   ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันโดยผู้ใช้สามารถเลือกทำรายการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านมือถือได้ด้วยตนเอง เช่น จองตั๋วภาพยนตร์หรือดาวน์โหลดริงโทนหรือโลโก้มือถือต่างๆ
             - ระบบอินเทอร์เน็ต   เป็นช่องทางการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นได้มากโดยเจ้าของร้านหรือบริษัท ผู้ผลิตจะทำเว็บไซท์เพื่อจำหน่ายสินค้าและให้ลูกค้าเลือกซื้อบนหน้าเว็บนั้นๆได้เลยทันทีลูกค้าสามารถทำรายการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
2.จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C พร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 เว็บไซท์ตอบ. ร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซท์ที่มีรูปแบบร้านค้าเสมือนจริง (virtual store-front) เพื่อให้ลูกค้า เข้ามาเลือกซื้อได้ด้วยตนเองเสมือนว่าได้เดินเข้ามายังร้านค้านั้นจริงๆ เมื่อพอใจหรือเลือกสินค้า เสร็จก็สามารถชำระเงินได้ทันที โดยมากมักเป็นสินค้าประเภทการจองที่พักโรงแรม การจองตั๋ว เครื่องบินโดยสารการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆเป็นต้น ตัวอย่างของเว็บไซท์เหล่านี้ เช่น
             - www.kwangham.com
             - www.hammax.com,www.toesu.com
             - www.pamanthai.com
3.การประมูลสินค้าออนไลน์ จัดอยู่ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.   แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือ C2C เนื่องจากเป็นการซื้อขายสินค้าที่ผู้บริโภคด้วยกันเอง นำเอาสินค้าที่ต้องการประมูลมาเสนอหรือติดต่อเพื่อทำการค้าเองโดยตรง โดยปิดประกาศประมูลสินค้ากับเว็บไซท์ผู้ให้บริการเมื่อตกลงในรายละเอียดสินค้าและวิธีการชำระเงินก็สามารถจัด ส่งของให้กับผู้ที่ชนะประมูลได้ทันที
4.วัตถุประสงค์ของ E-Government คืออะไร แตกต่างจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างบริการที่นักศึกษารู้จักมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างตอบ.   รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ electronic government เป็นการบริการของภาครัฐที่นำเสนอการให้ บริการกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองไม่ได้มุ่งเน้นหรือแสวงหากำ ไรเหมือน กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น
                - ระบบประตูสู่การบริการภาครัฐหรือ TGW (Thailand gateway)
                - บริการเสียภาษีของกรมสรรพากรผ่านเว็บไซท์
                - ระบบการตรวจสอบข้อมูลการเลือกตั้ง
5.Shopping cart คืออะไร จงอธิบายลักษณะการทำงานพอสังเขป
ตอบ.    โปรแกรมบนเว็บที่เขียนขึ้นเสมือนเป็นรถเข็นสินค้าจริงที่จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกใช้งาน หากอยากได้สินค้าชิ้นใด ลูกค้าสามารถคลิกเลือกกดปุ่มเพื่อจับใส่เข้าไปในรถเข็นนั้นได้จนกว่าจะพอใจแล้วทำการยืนยันการชำระเงินเพื่อออกจากระบบได้ เหมือนกับที่ไปเลือกซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อเลือกและหยิบใส่รถเข็นจนพอใจแล้ว จึงค่อยมาชำระเงินตรงทางออก เป็นต้น
6.นักศึกษาคิดว่า เหตุใดจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิตที่ใช้จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยและจะใช้วิธีอะไรได้บ้างตอบ.   เนื่องจากในระหว่างการทำธุรกรรมโดยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ตนั้น อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของบัตรได้ โดยเฉพาะกับข้อมูล ที่สำคัญๆหากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ อาจทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจที่จะทำรายการซื้อขายผ่านเว็บไซท์นั้นๆได้ ผู้ขายหรือเจ้าของเว็บไซท์เอง จึงควรมีวิธีการป้องกันที่ดีพอโดยเลือกการเข้ารหัสข้อมูล ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ามีความปลอด ภัยในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทุกอย่างที่ทำธุรกรรมจะมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งข้อมูลไปบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ยากต่อการแกะหรือถอดข้อมูลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
7.จงอธิบายลักษณะสินค้าแบบ hard goods และแบบ soft goods มาพอเข้าใจตอบ.   แบบ Hard goods จะเป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ และต้องจัดส่งสินค้าโดยการใช้บริการของผู้ให้บริการขนส่งไปรษณีย์หรือพัสดุ แต่สินค้าแบบ soft goods มักเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้และโดยมากมักอยู่ในรูปแบบดิจิตอลเช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟท์แวร์ โลโก้หรือริงโทนมือถือ เป็นต้น
8. ท่านคิดว่าบริการหลังการขาย มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.    มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำและแนะนำบอกต่อไปอีก มักนำไปใช้กับสินค้าที่มีการใช้งานยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่สามารถเข้าใจได้ทันที โดยมีผู้ชำนาญการหรือเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ บางบริษัทอาจมีศูนย์ช่วยเหลือลูกค้ามาช่วยในการดูแลลูกค้าหลังการขายสินค้าไปแล้ว
9.จงยกตัวอย่างวิธีการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบตอบ.    ตัวอย่างการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต เช่น
                - ชำระด้วยบัตรเครดิต   เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในขณะนี้ ผู้ใช้เพียงแค่ป้อนชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัตรวันหมดอายุและรหัสบัตรส่วนที่อยู่ด้านหลัง ลงในแบบฟอร์มของทางร้านค้าหรือผู้ให้ บริการรับชำระเงินบนแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ให้ แล้วทำการยืนยันการชำระเงินก็สามารถจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทันที
                - ชำระด้วยเงินสดดิจิตอล  เป็นวิธีการที่นำมาทดแทนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยต้องจ่ายเงินจริงสำรองไปก่อน เพื่อแลกกับมูลค่าวงเงินที่จะใช้สำหรับซื้อสินค้า เมื่อต้องการจ่ายเงินก็สามารถจ่ายเงิน ตามวงเงินที่เหลือได้พอหมดก็ค่อยไปซื้อมูลค่าวงเงินนี้ใหม่
10. สินค้าประเภทซอฟต์แวร์มีวิธีการส่งมอบได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.   นิยมให้ลูกค้าทำการดาวน์โหลดได้เลย ซึ่งอาจมีการจำกัดหรือวางเงื่อนไขในการดาวน์โหลดได้เช่น จำกัดจำนวนครั้ง จำนวนวันหรือจำกัดทั้งสองรูปแบบ โดยใส่รหัสผ่านที่ได้รับจากผู้ขาย ปกติจะพยายามทำให้ขนาดไฟล์ดิจิตอลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กลง โดยใช้โปรแกรมบีบอัดไฟล์ บางประเภทหรือปรับขนาดให้เล็กลงเมื่อเป็นไฟล์เพลงหรือไฟล์เสียง เช่น อยู่ในรูปแบบของMP3เป็นต้น นอกจากนั้นอาจให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะดาวน์โหลดด้วยการเชื่อมต่อด้วยความเร็วแบบใดเป็นต้น




 
 
                        





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น