เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
คือ การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ
อาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนความรู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ
ระบบสารสนเทศ (Information System)
คือกลุ่มของระบบงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมภายในองค์กร
ประกอบด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และข้อมูล ซึ่งจะทำงานร่วมกันเพื่อผลิตสารสนเทศที่จำเป็นต่อองค์กร สารสนเทศนี้จะช่วยในการผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยดี ซึ่งจะส่งผลกำไรให้กับองค์กร
ระบบสารสนเทศ
ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการข้อมูลในองค์กร
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้ในองค์กรหลายระดับ ตั้งแต่สูงสุดจนถึงล่างสุด
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
ระดับสูง (Top Level Management)
เกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร
ระบบสารสนเทศจะถูกออกแบบมาให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
อาจมีกราฟิกบ้างในการนำเสนอ
ตอบสนองต่อการตัดสินใจที่รวดเร็วและทันท่วงที
ระดับกลาง (Middle Level Management)
เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร
ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน
มีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆ ไว้หรือใช้ค่าสถิติช่วยพยากรณ์
ระดับปฏิบัติการ (Operational Level Management)
เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานระดับการผลิตและปฎิบัติงานขององค์กร
ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปใช้ประมวลผลในระดับอื่นต่อไป
บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะอยู่ในระดับหัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานและพนักงานปฏิบัติการประจำวัน
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบการประมวลผลข้อมูล (Transaction Processing Systems -- TPS)
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems -- MIS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems -- DSS)
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems -- EIS)
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence -- AI) และ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems --ES)
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)
นำมาใช้ในสำนักงานเพื่อเอื้อประโยชน์ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาจใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปหรือเครือข่ายการสื่อสารขั้นสูงช่วย
ปัจจุบันมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้กับระบบนี้กันมากขึ้น
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน
(Transaction Processing Systems : TPS)
ระบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำคงที่ เช่น รายการฝากถอนเงิน รายการคำสั่งซื้อ
มักเป็นระบบที่พบเห็นในระดับการจัดการขั้นปฏิบัติการ
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน Transaction Processing Systems : TPS
รวบรวมข้อมูล
ประมวลผลข้อมูล
นำเสนอสารสนเทศ
จัดเก็บข้อมูล
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)
ได้จากการประมวลผลของระบบ TPS
เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้วางแผน และควบคุมงานขององค์กรแทบทุกระดับชั้น
สามารถคำนวณและเปรียบเทียบการประมวลผลรวมถึงการออกรายงานได้
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการManageme
รับข้อมูลมาจาก TPS
ประมวลออกมาในรูปของรายงา
รายงานตามระยะเวลารายงานสรุป
รายงานตามเงื่อนไขเฉพาะ
รายงานตามความต้องกาnt Information Systems (MIS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)
นำมาใช้ในการช่วยตัดสินใจในระดับของการจัดการขั้นกลาง (Middle Management) และขั้นสูง (Top Management)
ช่วยวิเคราะห์และตัดสินใจง่ายขึ้น
ตอบสนองอย่างทันท่วงที มีความยืดหยุ่น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจDecision Support System : DSS
สนับสนุนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการเป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สารสนเทศมาเป็นพื้นฐาน
TPS, MIS => “do thing right”
DSS => “do the right thing”
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบช่วยตัดสินใจรูปแบบหนึ่ง ใช้กับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
สำหรับตรวจสอบ ควบคุมหรือดูแนวโน้มขององค์กรในภาพราม
ข้อมูลมาจากทั้งภายในและภายนอก
สารสนเทศที่ได้จะถูกกรองมาจากระดับปฏิบัติการและระดับกลางมาบ้างแล้ว
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารExecutive Information System: EIS
เป็นระบบที่ช่วยการสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มและการวางแผนกลยุทธ์
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
อาศัยฐานความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยหรือสั่งการ
เก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญรวบรวมไว้
หากต้องการก็จะดึงเอาฐานความรู้นั้นมาหาข้อสรุปและช่วยในการตัดสินใจ
ทำให้ลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญลงได้
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การรวมตัวกันของเทคโนโลยี (Convergence)
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ
สามารถรับและส่งสัญญาณได้ในปริมาณที่สูง เช่น ข้อมูลในรูปแบบสื่อผสม
การเผยแพร่ข้อมูลทำได้ทั่วถึงกันมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคไร้พรมแดน
ต้นทุนที่ถูกลง (Cost reduction)
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ราคาของการใช้และการเป็นเจ้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศถูกลงเป็นอย่างมาก
ทั้งอัตราค่าบริการสื่อสารโทรคมนาคม และราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นไปตามกลไกราคาของตลาด เมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้น ราคาย่อมมีแนวโน้มที่ถูกลง
การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง (Miniaturization)
วิวัฒนาการของไมโครชิปทำให้การใช้งานดีขึ้น
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศหลักหลายประเภทได้รับการพัฒนา
ให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก
เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
การประมวลผลที่ดีขึ้น (Processing Power)
เทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มของการประมวลผลงานที่ดีขึ้น
หน่วยประมวลผลกลางมีการประมวลผลเร็วขึ้นมากกว่าเดิม
การสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพและดีมากขึ้นด้วย
การใช้งานที่ง่าย (User Friendliness)
การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน มีการออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้ให้ง่ายและดียิ่งขึ้น
มุ่งเน้นให้เป็น user-friendly
มีการนำรูปแบบของ GUI มาใช้มาก
ที่เกิดขึ้นในสำนักงานแบบไร้กระดาษ (paperless office) การเปลี่ยนจากอะตอมเป็นบิต (Bits versus Atoms)
หันเหจากกิจกรรมที่ใช้ “อะตอม” ไปสู่การใช้ “บิต” (binary digit : BIT) มากยิ่งขึ้น
เช่น การส่งเอกสารที่เป็นกระดาษผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบ
สื่อผสม (Multimedia)
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศที่เป็นแบบสื่อผสม (multimedia) ได้ ประกอบด้วยสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบ
ตัวอักษร
ภาพกราฟิก
เสียง
ภาพนิ่ง
รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
เวลาและภูมิศาสตร์ (Time & Distance)
มนุษย์สามารถเอาชนะ เงื่อนไขด้าน “เวลา” และ “ภูมิศาสตร์” ได้โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ เช่น
การประยุกต์ใช้การประชุมแบบทางไกล (teleconference)
การใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสัญญาณให้กับโรงเรียนชนบทที่ห่างไกล (tele-education)
ด้านเศรษฐกิจ
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานหลักของธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
ใช้เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยระหว่างธนาคาร
นำเอาตู้ ATM ให้บริการลูกค้าตามแหล่งชุมชน
ตลาดหลักทรัพย์นำมาช่วยด้านการวิเคราะห์และแนะนำการลงทุน
ส่งรายการซื้อขายหลักทรัพย์แบบ Real Time
ด้านสังคม
ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ช่วยเหลือคนพิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้เท่าเทียมกัน
นำมาช่วยเหลือคนตาบอดเพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้ เช่น ระบบ DAISY (digital accessible information system)
ลดช่องว่างระหว่างสังคมได้
ด้านการศึกษา
ลดอุปสรรคเรื่องสถานที่ในการเรียน โดยใช้การเรียนผ่านระบบเครือข่าย
ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการศึกษา โดยใช้เครือข่ายเฉพาะ เช่น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยสาร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก
ด้านสาธารณสุข
นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับโครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine)
แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้
ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในท้องถิ่น
ธุรกันดารลงไปได้
ธุรกันดารลงไปได้
ใช้ถ่ายทอดการเรียนการสอนและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญได้
ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์
โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย
คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติหรือ กทสช. (National Information Technology Committee : NITC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2535
มีการเสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
NECTEC ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ
มีนโยบายถูกกำหนดออกมา 2 ฉบับด้วยกันคือ IT2000 และ IT2010
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับล่าสุดหรือ IT 2010
มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge -based Economy/Society : KBE/KBS)
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
แบบฝึกหัดท้ายบทที่11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
ตอบ. 1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ
2.สื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบตอบ. สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึง
ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถ
นำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น การสร้างวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น
3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ
2.สื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบตอบ. สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึง
ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถ
นำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น การสร้างวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น
3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ. การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือ
ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคม
และการสื่อสาร
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลด
ปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโน
โลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ
4.DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคม
และการสื่อสาร
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลด
ปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโน
โลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ
4.DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ตอบ. digital accessible information system หรือ DAISY เป็นระบบหนังสือที่มีการบันทึกข้อมูลให้อยู่
ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้ โดยสามารถค้นอ่านข้อ
มูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น
5.เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือ
ข่ายใดหน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้
ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้ โดยสามารถค้นอ่านข้อ
มูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น
5.เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือ
ข่ายใดหน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้
ตอบ. เครือข่ายกาญจนาภิเษกหรือ KPNet จะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระ
ราชกรณียกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้
6.จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมอธิบาย
อยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระ
ราชกรณียกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้
6.จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ. การฝาก-ถอนเงินสดกับเครื่องให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้าทำธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นยอด
เงินคงเหลือต่างๆในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที
เงินคงเหลือต่างๆในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที
7.Knowledge-based Economy คือรูปแบบของสังคมแบบใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ตอบ. รูปแบบของสังคมที่มุ่งเน้นให้เกิดภูมิปัญญาหรือความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้
เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ขณะเดียวกันก็เพื่อ
ให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ขณะเดียวกันก็เพื่อ
ให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
8. ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
ตอบ. ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการ
กำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่
รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง
ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
กำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่
รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง
ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
10.Telemedicine คืออะไร
ตอบ. การแพทย์ทางไกล ที่นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงาน
ด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทาง
และปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ
คนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้น
ของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น
ด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทาง
และปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ
คนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้น
ของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น