วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 4 ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง


                               บทที่ 4 ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของฮาร์ดแวร์ (Hardware)
                ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้  โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์
                องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์
n หน่ายรับข้อมูล (Input Unit)
n หน่วยประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit : CPU)
n หน่วยเก็บข้อมูล (Memory Unit)
n หน่วยติดต่อสื่อสาร (Communication Unit)
n หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่ายรับข้อมูล (Input Unit)
        ทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกคอมพิวเตอร์เข้าสู่หน่วยความจำ  แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
1.คีย์บอร์ด (Keyboard)
        2.เมาส์ (Mouse)
       3.เครื่องอ่านรหัสหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magnetic Ink Character Reader : MICR)
       4.เครื่องอ่านเครื่องหมายเชิงแสง (Optical mark reader : OMR)
       5.เครื่องอ่านตัวอักษรเชิงแสง (Optical Character Reader : OCR)
       6.เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
       7.สแกนเนอร์ (Scanner)
       8.ปากกาแสง (Light Pen)
       9.จอยสติก (Joy Sticks)
      10.จอสัมผัส (Touch Screen)
      11.เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
      12.แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
      13.กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
      14.อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)

หน่วยประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit : CPU)
                -ทำหน้าที่ในการประมวลผลตามคำสั่งของโปรแกรมที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำหลัก  
                -หน่วยประมวลผลกลางจะประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)
                -หน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางมีหน่วยวัดเป็น  MHz แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาถึงระดับ GHz คือ พันล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที
หน่วยควบคุม (Control Unit) 
                ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เปรียบเสมือนศูนย์กลางของระบบประสาท หน้าที่ของหน่วยควบคุม คือ อ่านคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำ ถอดรหัสคำสั่ง และทำงานตามคำสั่ง ที่ละคำสั่งจนหมดคำสั่งที่จะประมวลผล
                หน่วยคำนวณและตรรกะ
                (Arithmetic & Logical Unit : ALU)จะมีหน้าที่ในการทำงาน 2 ลักษณะคือ
                1. ประมวลผลการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operation)
                2. ประมวลผลเชิงตรรกวิทยา (Logical Operation)
หน่วยเก็บข้อมูล (Memory Unit)
                คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่รับจากหน่วยรับข้อมูล  เพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางประมวลผลตามโปรแกรมคำสั่งและเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เพื่อส่งต่อให้กับหน่วยแสดงผล หรือเรียกใช้ข้อมูลภายหลังได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)หน่วยความจำที่เก็บข้อมูล และโปรแกรมคำสั่ง ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
                2)  หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)  หน่วยความจำสำรองจึงมีหน้าที่ในเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งอย่างถาวร
                หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
                แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
                1.หน่วยความจำถาวร ( Permanent Memory) เป็นชิปที่บันทึกโปรแกรมคำสั่งอย่างถาวรโดยผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกอ่านและใช้งานได้แต่ไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมโปรแกรมคำสั่งในภายหลังได้  หน้าที่ของ ROM  คือ เก็บโปรแกรมคำสั่งเริ่มต้นในการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการตรวจสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทุกระบบถ้าพบข้อผิดพลาดจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
                2.หน่วยความจำชั่วคราว (Non-Permanent Memory) (Random Access Memory-RAM) 
                คือ หน่วยคำจำที่เก็บโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ จึงเปรียบเสมือกระดาษทด  แต่ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลหรือโปรแกรมคำสั่งที่อยู่ภายในแรมจะสูญหาย ดังนั้นหากต้องการเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งเพื่อเรียกใช้งานในภายหลัง ต้องบันทึกลงในหน่วยความจำสำรอง

           หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
เนื่องจากหน่วยความจำหลักไม่สามารถเก็บข้อมูลได้หมดและสามารถเก็บข้อมูลได้ชั่วคราวในขณะที่ใช้งาน  หน่วยความจำสำรองจึงมีหน้าที่ในเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งอย่างถาวร นอกจากนั้นหน่วยความจำสำรองยังเป็นสื่อในการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้ เช่น  ฮาร์ดแวร์  ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk)   ซีดี (Compact Disk - CD)  Thumb Drive  หรือ Jump Drive หรือ Handy Drive
หน่วยติดต่อสื่อสาร (Communication Unit)
1.โมเด็ม (MODEM)
                -Internal Modem   มีลักษณะเป็นการ์ดติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ราคาถูกแต่ขั้นตอนในการติดตั้งยุ่งยาก
                -External Modem มีลักษณะเป็นกล่อง ติดตั้งได้ง่าย แต่ราคาสูง
2.แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC หรือ LAN card)

หน่วยแสดงผล (Output Unit)
1.จอภาพ (Monitor)
2.จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display)
3.เครื่องพิมพ์ (Printer)
4.ลำโพง (Speaker)
 
 

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4 ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ คีย์บอร์ดลักษณะดังกล่าว ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมือที่สัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา โดยมีแป้นรองรับการพิมพ์สัมผัสที่ง่ายและเบา มีแท่นวางมือและออกแบบให้สัมพันธ์กับสรีระของแขนและมือให้ทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2. ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร
ตอบ เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์จะทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนเหมือนกับเมาส์แบบทั่วไปแต่จะใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง และมีวงจรภายในทำหน้าที่วิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเลื่อนเมาส์ จากนั้นจะแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่งในที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย
3. OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้
ตอบ เครื่องมือที่ใช้สำหรับอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ หรือชื่อเต็มว่าOptical Mark Reader มักนำไปใช้กับการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ.โดยจะทำการอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ทำการระบายไว้ในกระดาษคำตอบที่ออกแบบมาพิเศษ
4. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
ตอบ เมนบอร์ด คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักของเครื่องพีซี เนื่องจากเป็นแผงควบคุมวงจรการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด จะขาดไปเสียมิได้ ความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆได้หรือไม่นั้นจึงล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น
5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ
ตอบ สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้
- แบบจานแม่เหล็ก
เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน (disk) ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร ที่รู้จักกันดี เช่น ฟล็อปปีดิสก์และฮาร์ดดิสก์
- แบบแสง
เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็กต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD และ DVD เป็นต้น
- แบบเทป
เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น
- แบบอื่นๆ
เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น flash drive,thumb drive หรือ handy drive เป็นต้น อีกชนิดหนึ่งอาจพบเห็นในรูปของแผ่น memory card เพื่อใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้งหลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น
6. แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร
ตอบ พื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื้นที่แนววงกลมรอบๆแผ่นจาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ละแผ่นจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์นั้น เป็นส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วนๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้วเซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆนั่นเอง
7. แผ่นดิสก์เก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละ
เซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้
ตอบ ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้
ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต = 2 X 80 X 9 X 512 bytes
= 737,280 bytes
= 720 KiB (737,280/1024)
หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)
8. ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ดิสเก็ตต์จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บข้อมูลได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อมูลขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วยสำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านข้อมูลของดิสเก็ตต์จะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่สำหรับการอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด
9. สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตอบ สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูลโปรแกรมเพื่อใช้งาน รวมถึงบันทึกเสียงเพลง ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะมากยิ่งขึ้น สามารถจุมากสุดได้ถึง 17 GB จึงเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลงานทางด้านมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงของทั้งภาพและเสียงมากที่สุดนั่นเอง
10.Point Of Sale คืออะไร
ตอบ จุดบริการขายที่มักพบตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อสามารถนำสินค้ามาชำระเงินยังจุดบริการขายนี้ได้ทันที ซึ่งระบบจะมีการจัดการเกี่ยวกับรายการซื้อขายเองโดยอัตโนมัติ
11. งานเกี่ยวกับการออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบกำกับภาษีที่ต้องมีสำเนาหลายใบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบใด
เครื่องดังกล่าวมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ เนื่องจากลักษณะงานคือการพิมพ์สำเนาหลายๆแผ่นในครั้งเดียว คุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานแบบนี้มาก อีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดเวลาและสะดวกกว่าที่จะใช้เครื่องพิมพ์แบบอื่นเพื่อพิมพ์ครั้งละแผ่น หลักการทำงานจะอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ตัวกระดาษโดยตรง เมื่อใช้กระดาษสำเนาซ้อนทับจึงให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกับแผ่นต้นฉบับ
12. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้ผงหมึกพ่นลงไปบนกระดาษ มีทั้งหมึกสีและขาวดำ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฎิทินหรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาอาจแพงกว่าเนื่องจากให้ความคมชัดได้ดี หลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้ ปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบสีและขาวดำ
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น