วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ

บทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ
ความหมายของระบบ (System)
                ระบบ (System) คือหน่วยย่อยที่ประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่เพื่อให้บรรลุวัตถูประสงค์หรือเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งหน่วยย่อยเหล่านั้นสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี โดยมีความสัมพันธ์และใช้กระบวนการหรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจัดระเบียบองค์ประกอบหรือหน่วยย่อยเหล่านั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบจึงจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบอื่นๆหลายส่วนเช่น บุคคล  เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้

ทำไมถึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                การวิเคราะห์ระบบเป็นการใช้กระบวนการเพื่อศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาต่างๆว่า ระบบที่พิจารณานั้นต้องทำอะไรบ้างโดยหาความต้องการให้ได้ว่าต้องการแก้ปัญหาหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ

หน้าที่ของนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                นักวิเคราะห์และออกแบบระบบมีบทบาทในการศึกษาความต้องการใช้งานของผู้ใช้ ว่าต้องการให้สร้างหรือพัฒนาระบบไปในแนวทางไหนโดยทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ศึกษาปัญหา วิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวให้มากที่สุด และนำสิ่งที่ออกแบบไว้ไปอธิบายให้กับโปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
 
 
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
                1.มีความรู้พื้นฐานในวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
                2.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเจรจาและประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                3.เป็นคนช่างสังเกต มีไหวพริบ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
                4.สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆแยกประเด็นย่อยๆหรือละเอียดเจาะลึกได้เป็นอย่างดี
                5.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบธุรกิจองค์กรทั้งในเรื่องการบัญชี งบประมาณ การตลาด
                6.มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
                7.สามารถควบคุมเวลาแผนงานให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้
                8.มีความสามารถในการสื่อสารและนำเสนองานแก่ผู้เกี่ยวข้องให้เป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้โดยง่าย
                9.ปรับตัวรับภาระการทำงานที่กดดันได้เป็นอย่างดี

วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร
1.กำหนดปัญหา (Problem Definition) ในขั้นตอนแรกมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์และออกแบบระบบมากเพราะจะต้องมีการเก็บรายละเอียดต่างๆ โดยรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของระบบเดิม
 
                2.วิเคราะห์ระบบ (Analysis) เป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ โดยวิเคราะห์การทำงานของระบบเดิม
 
                3.ออกแบบระบบ (Design) เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวกับกานนำเสนอระบบใหม่ว่าจะพัฒนาอย่างไร โดยนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จากขั้นตอนที่แล้วมาแยกย่อยแลแออกแบบให้ตรงตามความต้องการ เป็นเหมือนพิมพ์เขียวของระบบ
 
                4.พัฒนาระบบ (Development) เป็นขั้นที่สร้างระบบตามแบบพิมพ์เขียวที่ไดออกแบบไว้  โดยลงมือเขียนโปรแกรมในแต่ละขั้นที่ออกแบบไว้ แล้วนำมาประกอบกันเพื่อให้สามารทำตามความต้องการที่ออกอแบบไว้
                5.ทดสอบระบบ (Testing) เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่ทีมพัฒนาโปรแกรมเขียนไว้แล้ว หัวทีมพัฒนาระบบ ที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมเหล่านี้ จะต้องดูแลเรื่องการทดสอบระบบและจัดทำคู่มือให้ผู้ใช้งานนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายด้วย
                6.ติดตั้งระบบ (Installation) หลังจากทดสอบการใช้งานรีบยร้อยแล้ว นำระบบที่พัฒนามาติดตั้งเพื่อใช้งานจริง
                7.การบำรุงรักษา (Maintenance) เป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากนำระบบที่ผ่านการทดสอบแล้วไปใช้งานจริงซึ่งระบบอาจเกิดปัญหาขึ้นอีกก็ได้ ดังนั้นจะต้องวางแผนเตรียมการรองรับหรือแก้ไขปัญหาในการใช้งานระบบอยู่ตลอดเวลา
 
 
 
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ
1.จงอธิบายความหมายของระบบมาพอสังเขป
ตอบ.ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน
2.นักศึกษาคิดว่าระบบมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.ระบบจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือองค์ประกอบอื่นหลายส่วน เช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หากไม่มีระบบในการทำงานก็จะทำให้ยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม หรือทำไม่ได้เลย เช่น ระบบในร่างกายของเราจะต้องประกอบไปด้วยระบบเส้นประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหายใจระบบไหลเวียนของโลหิต ฯลฯ
3.เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ตอบ.การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ระบบต้องติดต่อกับคนหลายคน ได้รู้ถึงการจัดการและการทำงานในองค์การ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หลายแบบมากขึ้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดี ควรมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ซึ่งใช้เป็นความรู้ในการออกแบบระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปตาม สภาพงาน ดังนั้น หน้าที่ของนักวิเคราะห์ ก็คือการศึกษาระบบ แล้วให้คำแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาระบบนั้นจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งการทำงานทั้งหมดต้องมีลำดับขั้นตอนและการศึกษาวิธีการวิเคราะห์และการออกแบบระบบในแต่ละขั้นตอน ทำให้เข้าใจการวิเคราะห์ระบบนั้นๆ ดียิ่ง และสามารถออกแบบระบบใหม่โดยไม่ยากเย็นนัก โดยสามารถตัดสินใจว่า ระบบใหม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ประเภทไหน ใช้โปรแกรมอะไร ออกแบบ Input/output อย่างไรเป็นต้น
4.นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ.คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ


5.นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ. 1.) มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2.)มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3.)มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4.) ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ
5.) มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
6.) ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7.)มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8.) สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9.) มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ ตรงกัน
10.) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11.) สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12.) เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง
6.วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจรการพัฒนาระบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงกิจกรรมพื้นฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนด้วยกัน
7.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ. 1.) ความต้องการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Functional Requirement)
1.1 คำบรรยายเกี่ยวกับการประมวลผลซึ่งระบบจะต้องทำ
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบ
1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์
1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในระบบ
1.5 รายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุม
2.) ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Non-Functional Requirement)
แต่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของระบบ ทำให้ได้มาซึ่งความต้องการที่เกี่ยวกับ
หน้าที่ของระบบ ได้แก่
2.1 เกณฑ์ในหารปฏิบัติงาน (Performance Criteria) เช่น เวลาในการตอบสนองในการแก้ไขข้อมูลในระบบ หรือ การรับข้อมูลจากระบบ
2.2 ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จะต้องรวบรวม หรือเก็บไว้ในระบบ
2.3 ความปลอดภัยของระบบ
3.) ความต้องการเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability Requirement)
3.1 ลักษณะผู้ใช้ที่จะใช้ระบบ
3.2 งานที่ผู้ใช้จะต้องทำ รวมทั้งเป้าหมายที่เขาจะพยายามบรรลุ
3.3 ปัจจัย หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ
3.4 เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งผู้ใช้จะใช้ในการตัดสินเมื่อนำระบบไปใช้
8.เทคนิคการรวบรวมข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ. คือเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานต่างๆแผนผังองค์กร แบบสอบถาม การสังเกต รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องกับระบบเป็นต้น
9. Gantt Chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ. เป็นแผนภูมิแท่งชนิด Bar Chart อย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้ อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร
10. Tester คือใคร มีหน้าที่อะไร
ตอบ .คือ ผู้ทดสอบระบบ ทำหน้าที่ทดสอบระบบ เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่พัฒนาโปรแกรมได้เขียนไว้แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น