วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

                                            
                                              บทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์
        ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มของวุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ การที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างอัตโนมัติโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการประมวลผลนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทำงานของซอฟต์แวร์นั่นเอง


        โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกันคือ
       1 ซอฟต์แวร์ระบบ System Software เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
       ระบบปฎิบัติการ operating systems
       โปรแกรมอรรถประโยชน์ utility programs
      2. ซอฟแวร์ประยุกต์ Application Software เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะด้านเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง ซึ่งพอสรุปได้ดั้งนี้
      แบ่งตามลักษณะการผลิต ได้ 2 ประเภทคือ
         1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ
         2. ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป
     แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน ได้ 3 กลุมใหญ่คือ
        1. กลุ่มการใช้การด้านธุรกิจ
        2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
        3. กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร

การจัดหาซอฟต์แวร์ มาใช้งาน
Windows Server
œออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ เดิมมีชื่อว่า Windows NT
œรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์
œเหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (server)
มาใช้งาน
        โดยปกติแล้วเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลายๆวิธี ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของการสั่งซื้อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตหรือใช้ตัวอย่างทดลองจากการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ จึงพอสรุปวิธีการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ดังนี้
แบบสำเร็จรูป Packagrd หรือ Ready-made Software
          วิธีการนี้นี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะเข้าไปเดินหาซื้อกับตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติก้สามารถนำเอาซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้ทันที


แบบว่าจ้างทำ Customized หรือ Tailor-made Software
         กรณีที่บางองค์กรมีลักษณะงานที่เป็นแบบเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งวิธีการนี้อาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างให้เขียนซอฟต์แวร์ที่มีต้นทุนแพงกว่า


แบบทดลองใช้ Shareware
         ในการใช้งานโปรแกรม ผู้ใช้งานอาจมีความต้องการเพียงแค่อยากทดสอบการใช้งานของโปรแกรมนั้นๆก่อนว่าดีหรือไม่ และจะเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่อย่างไรบ้าง แต่อาจจะมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งานหรือเงื่อนไขอื่นๆเพิ่มเติมด้วย เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน หรือปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป วิธีการนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะมีให้ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป ซึ่งจะหาได้ตามเว็บไซต์ของผู้ผลิตโดยตรงหรือ เว็บไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ

แบบใช้งานฟรี Freeware
        ปัจจุบันเราสามารถเลือกหาโปรแกรมที่แจกให้ใช้กันฟรีๆ เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลายมาได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแหล่งบริการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กและใช้เวลาเพียงไม่กั่นาที ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดได้

แบบโอเฟนเซอร์ส Pubic-Domain/Open Source
       ในบางองค์กรที่มีกลุ่มบุคลผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์พอสมควรหากต้องการใช้ซอฟต์แวร์แต่ไม่ต้องการเสียเวลาในการพัฒนาที่ยาวนานจนเกินไป อาจจะเลือกใช้กลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดให้แก้ไขปรับปรุงตัวโปรแกรมต่างๆได้เอง ซึ่งบางครั้งเรียกซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ว่า โอเฟนซอร์ส ซึ่งผู้ใช้งานสามารถที่จะนำเอาโค้ดต่างๆไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ตามความต้องการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือระบุไว้ของผู้ผลิตดั้งเดิม

ระบบปฎิบัติการ OS- Operating System
        เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ บางครั้งก็นิยมเรียกรวมๆว่าแพลตฟอร์ม คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฎิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อนซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้นๆว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิเตอร์แทบอยู่ทุกประเภทตั้งแต่ขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรม จนถึงระดับเล็กสุดเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ

คุณสมบัติการทำงาน
         ระบบปฎิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่างๆดังต่อไปนี้
         การทำงานแบบ Multi- Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลายๆงานหรือหลายๆโปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ผู้ใช้สามารถที่จะสลับงานไปมาระหว่างโปรแกรมหรือควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฎิบัติการ Windows รุ่นใหม่ๆ ซึ่งทำให้ใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลายๆโปรแกรม


        การทำงานแบบ Multi-User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า muiti-user หรือ ความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลายๆคนขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อมๆกัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น


ประเภทของระบบปฎิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
         1. ระบบปฎิบัติการแบบเดี่ยว stand-alone OS เป็นระบบปฎิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว เจ้าของเครื่องนั้นๆ นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เป้นต้น

         2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย network OS เป็นรระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะมักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป
         3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง embed-aione OS เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smat phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานแบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดข้นมาหลังสุดพร้อมๆกับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

          ระบบปฏิบัติการที่พบเห็นและได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาจยกตัวอย่างได้ดังนี้
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว Stand-Aione OS
          DOS Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเนหลัก ทำงานโดยฬช้การป้อนชุดคำสั้งที่เรียกว่า command-line ซึ่งต้องป้อนข้อมูลทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องทำงานตามคำสั่งนั้นๆ ผลิตขึ้นมาครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS


ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
   มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน (multi-user)
  นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
œมักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฎิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่าเครื่อง server (เครื่องแม่ข่าย

OS/2 Warp Server
œพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม
œใช้เป็นระบบเพื่อควบคุมเครื่องแม่ข่ายหรือ server เช่นเดียวกัน


œSolaris
œทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการแบบ Unix (Unix compatible)
œผลิตโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์


ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)

œPocket PC OS (Windows CE เดิม)
œย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดที่เล็กลง (scaled-down version)
œรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้
œมักติดตั้งบนเครื่อง Pocket PC หรืออาจพบเห็นในมือถือประเภท smart phone บางรุ่น


œPalm OS
œพัฒนาขึ้นมาก่อน Pocket PC OS
œลักษณะงานที่ใช้จะคล้ายๆกัน
œใช้กับเครื่องที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์มและ
œบางค่ายเท่านั้น เช่น Visor (ของค่าย Handspring) และ CLIE (ของค่าย Sony)

 
œSymbian OS
œรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะ
œนิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือประเภท smart phone
œสนับสนุนการทำงานแบบหลายๆงานในเวลาเดียวกัน (multi-tasking)


โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Program)
 
œส่วนใหญ่จะมีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่าระบบปฏิบัติการ
œมีคุณสมบัติในการใช้งานค่อนข้างหลากหลายหรือใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์
œนิยมเรียกสั้นๆว่า ยูทิลิตี้ (utility)
œอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
œยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility programs)
œยูทิลิตี้อื่นๆ (stand-alone utility programs)

ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติกา(OS Utility Programs)

ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่ทำงานด้านต่างๆ
ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager)
ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller)
ประเภทการสแกนดิสก์ (Disk Scanner)
ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter)
ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver)

ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager)
มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่างๆเช่น การคัดลอก การเปลี่ยนชื่อ การลบและการย้ายไฟล์ เป็นต้น
ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ๆยังได้เพิ่มคุณสมบัติที่เรียกว่า image viewer เพื่อนำมาปรับใช้กับไฟล์รูปภาพได้
 
 
 
ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller)
ลบหรือกำจัดโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ออกไปจากระบบ
ทำให้พื้นที่เก็บข้อมูลมีเหลือเพิ่มมากขึ้น
ทำงานได้อย่างง่ายดาย
 
 
 
ประเภทการสแกนดิสก์ (Disk Scanner)
สแกนหาข้อผิดพลาดต่างๆพร้อมทั้งหาทางแก้ปัญหาในดิสก์
ประยุกต์ใช้เพื่อสแกนหาไฟล์ที่ไม่ต้องการใช้งาน (unnecessary files) เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ไประยะหนึ่งได้
 
 
 
  ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter)ช่วยในการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลให้เป็นระเบียบ และเป็นกลุ่มเป็นก้อเมื่อต้องการใช้งานไฟล์ข้อมูลในภายหลังจะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็วกว่าเดิม
 
ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver)
ช่วยถนอมอายุการใช้งานของจอคอมพิวเตอร์ให้ยาวนานมากขึ้น
ใช้ภาพเคลื่อนไหวไปมา และเลือกลวดลายหรือภาพได้ด้วยตนเอง
อาจพบเห็นกับการตั้งค่ารหัสผ่านของโปรแกรมรักษาหน้าจอเอาไว้ได้
ยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-Alone Utility Programs)
  เป็นยูทิลิตี้ที่ทำงานด้านอื่นโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับระบบปฎิบัติการ
มักทำงานเฉพาะอย่าง หรือด้านใดด้านหนึ่ง
มีทั้งที่แจกให้ใช้ฟรีและเสียเงิน
มีให้เลือกใช้เยอะและหลากหลายมาก
 
โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti Virus Program)
ติดตั้งไว้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมประสงค์ร้าย
ต้องอัพเดทข้อมูลใหม่อยู่เสมอเพื่อให้รู้จักและหาทางยั้บยั้งไวรัสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน
ควรติดตั้งไว้ในเครื่องทุกเครื่อง
 
 
โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Personal Firewall)
ป้องกันการบุกรุกจากผู้ไม่ประสงค์ดี
สามารถติดตามและตรวจสอบรายการต่างๆของผู้บุกรุกได้
เหมาะกับเครื่องที่ต้องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นอย่างมาก
 
 
โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดที่เล็กลง
ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์ (zip files)
ยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, WinZip, WinRaR, 7-zip เป็นต้น
  ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ 
 
 
 
แบ่งตามลักษณะการผลิตได้เป็น 2 ประเภท
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเอง (proprietary software)
ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป (off-the-shelf software)
 
 ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเอง (proprietary software
 
เพราะหน่วยงานไม่สามารถหาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพดีเพียงพอกับความต้องการได้
วิธีการพัฒนาอาจทำได้ 2 วิธีคือ
in-house developed สร้างและพัฒนาโดยหน่วยงานในบริษัทเอง
contract หรือ outsource เป็นการจ้างบุคคลภายนอกให้ทำขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป(Off-the-shelf Software
 
มีวางขายตามท้องตลาดทั่วไป (off-the-shelf) โดยบรรจุหีบห่ออย่างดีและสามารถนำไปติดตั้งและใช้งานได้ทันที
บางครั้งนิยมเรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป (package software)
อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
โปรแกรมเฉพาะ (customized package)
โปรแกรมมาตรฐาน (standard package)
ตัวอย่างของโรแกรมประกอบแบ่งออกไดเเป็น3กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
 
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (business)
กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (graphic and multimedia)
กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (web and communications 
 
ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจ
 
มุ่งเน้นให้ใช้งานเพื่อประโยชน์สำหรับงานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ
ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากกว่าการใช้แรงงานคน
ตัวอย่างงาน เช่น ใช้สำหรับการจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน รวมถึงการบันทึกนัดหมายต่างๆ
 
  
อาจแบ่งซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ออกเป็นประเภท ได้ดังนี้
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing) เช่น MicrosoftWord, Sun StarOffice Writer
ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet) เช่น Microsoft Excel, Sun StarOffice Calc
ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database) เช่น Microsoft Access, Oracle, MySQL
ซอฟต์แวร์นำเสนองาน (Presentation) เช่น Microsoft PowerPoint, Sun StarOffice Impress
 
ซอฟต์แวร์สำหรับพีดีเอ (PDA Software) อาจเรียกว่า PIM (Personal Information Manager) ทำงานร่วมกับเครื่องพีซีได้โดยการถ่ายโอนข้อมูล (synchronization) เช่น Microsoft Pocket Outlook, Microsoft Pocket Excel, QuickNotes
ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) เช่น Microsoft Office, Sun StarOffice, Pladao Office
ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการโครงการ (Project management) ใช้กับการวิเคราะห์และวางแผนโครงการเป็นหลัก  เช่น Microsoft Project, Macromedia Sitespring
ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting) เช่น Intuit QuickBooks, Peachtree Complete Accounting
ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
 
เพื่อช่วยสำหรับจัดการงานด้านกราฟิกและมัลติมีเดียให้ง่ายขึ้น
มีความสามารถเสมือนเป็นผู้ช่วยในการออกแบบงาน
มีความสามารถหลากหลาย เช่น ตกแต่งภาพ วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหวรวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์
 
อาจแบ่งซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ออกเป็นประเภท ได้ดังนี้
ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ (CAD - Computer-aided design)
ซอฟต์แวร์สำหรับสิ่งพิมพ์ (Desktop publishing)
ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ (Paint/image editing)
ซอฟต์แวร์สำหรับการตัดต่อวิดีโอและเสียง (Video and audio editing)
ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia authoring)
ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บ (Web page authoring)
ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ(CAD - Computer-aided design
 
ช่วยสำหรับการออกแบบแผนผัง การออกแบบและตกแต่งบ้าน รวมถึงการจัดองค์ประกอบอื่นๆ
เหมาะสำหรับงานด้านวิศวกรรมสถาปัตยกรรม รวมถึงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบางประเภท
ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Autodesk AutoCAD, Microsoft Visio Professional
ซอฟต์แวร์สำหรับสิ่งพิมพ์ (Desktop publishing)
 
สำหรับการจัดการกับสิ่งพิมพ์ เช่นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โบร์ชัวร์แผ่นพับ โลโก้
เหมาะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์หรือบริษัทออกแบบกราฟิก
ตัวอย่างโปรแกรม เช่น AdobeInDesign, Adobe PageMaker, Corel VENTURA, QuarkXPress
 ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ (Paint/image editing)
 
สำหรับการสร้างและจัดการรูปภาพ การจัดองค์ประกอบแสง-สีของภาพ รวมถึงการวาดภาพลายเส้น
เหมาะสำหรับออกแบบงานกราฟิก เช่น งานพาณิชย์ศิลป์ งานออกแบบและตกแต่งสินค้า
ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Adobe Illu
strator, Adobe Photoshop, CorelDRAW, Macromedia FreeHand
 
ซอฟต์แวร์สำหรับการตัดต่อวิดีโอและเสียง(Video and audio editing)
 
จัดการกับข้อมูลเสียง เช่น ผสมเสียงแก้ไขเสียง สร้างเอฟเฟ็คต์หรือเสียงใหม่ๆ
เหมาะสำหรับใช้กับงานวงการตัดต่อภาพยนตร์ โทรทัศน์ สตูดิโอบันทึกเสียงหรืองานบนอินเทอร์เน็ตบางชนิด
ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Adobe Premiere, Cakewalk SONAR, Pinnacle Studio DV
ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดีย(Multimedia authoring)
 
ซอฟต์แวร์ที่เป็นการผนวกเอาสื่อหลายชนิด (multimedia) มาประกอบกันเพื่อให้การนำเสนองานมีความน่าสนใจ
อาจสร้างชิ้นงานประเภทสื่อปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (interractive) เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้
ตัวอย่างโปรแกรมเช่น Toolbook Instructor, Macromedia Authorware, Macromedia Director Shockwave Studio
ซอฟต์
สามารถจัดการและออกแบบเว็บไซต์ได้โดยง่าย
สามารถแทรกข้อมูลประเภทเสียง ข้อความรูปภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำเสนอบนเว็บไซต์ ได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Adobe GoLive, Macromedia Dreamweaver, Macromedia Fireworks, Macromedia Flash, Microsoft FrontPage
ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการสื่อสาร
 
เน้นเฉพาะการใช้งานด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล
เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และพัฒนาออกมาหลายเวอร์ชั่น หลายโปรแกรม เนื่องจากการขยายตัวของการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
กลุ่มของโปรแกรมประเภทนี้ เช่น
ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการอีเมล์ (Electronic mail Software) เช่น Microsoft Outlook
ซอฟต์แวร์สำหรับท่องเว็บ (Web browser) เช่น Microsoft Internet Explorer, Nestcape Comunication, Opera
ซอฟต์แวร์สำหรับจัดประชุมทางไกล (Video Conference) เช่น Microsoft Netmeeting
ซอฟต์แวร์สำหรับถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer) เช่น Cute_FTP, WS_FTP
ซอฟต์แวร์ประเภทส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) เช่น ICQ , MSN Messenger,Yahoo Messenger
ซอฟต์แวร์สำหรับสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Internet Relay Chat) เช่น PIRCH, MIRC
 
ภาษาคอมพิวเตอร์
 
เป็นเสมือน “ล่ามแปลภาษา”
แบ่งออกได้หลายระดับ
หากใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ จะอยู่กลุ่มระดับต่ำ
หากใกล้เคียงกับมนุษย์ จะอยู่กลุ่มระดับสูง
 
ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์
 
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (first generation language)
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (second generation language)
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (third generation language)
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (fourth generation language)
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (fifth generation language)
 
 
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (first generation language)
 
การทำงานใช้ภาษาระดับต่ำ (low-level language)
เช่น ภาษาเครื่อง (machine language) ที่ประกอบด้วยตัวเลขเฉพาะ 0 และ 1 เท่านั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำความเข้าใจได้ทันที
การเขียนโปรแกรมค่อนข้างยุ่งยากและไม่สะดวก
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2(second generation language)
 
เอาสัญลักษณ์ (symbol) มาแทนรูปแบบของตัวเลขในภาษาเครื่อง
ภาษาที่ใช้คือ ภาษาแอสแซมบลี (assembly language) ซึ่งได้นำเอาคำย่อ รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆมาใช้แทนตัวเลข 0 กับ 1
เป็นกลุ่มภาษาระดับต่ำเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง เพราะการทำงานยังใกล้เคียงกับภาษาของคอมพิวเตอร์
มีตัวช่วยแปลภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบลอร์ (assem
bler) เพื่อเป็นตัวกลางแปลภาษาให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
 ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3(third generation language
 
พัฒนาให้มีรูปแบบใกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์เรียกว่า ภาษาระดับสูง(high-level language)
มีกลุ่มคำภาษาอังกฤษที่เข้าใจง่ายขึ้น
เป็นภาษาเชิงกระบวนการหรือ procedural language ทำงานเป็นขั้นตอนเรียงตามลำดับคำสั่งที่เขียน
เขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนได้มากขึ้น แต่ก็ยังยุ่งยากอยู่บ้าง
หากเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (fourth generatio n language)
 
ช่วยเหลือการเขียนโปรแกรมได้มาก โดยใช้ ภาษาระดับสูงมาก(very-high level language)
อาศัยหลักการแบบ nonprocedural language
เขียนโปรแกรมได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ได้โปรแกรมที่มีความสมบูรณ์และสวยงามมากขึ้น
ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5(fifth generation language)
 
เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์มากที่สุดหรือที่เรียกว่าภาษาธรรมชาติ (natural language)
ทำงานโดยอาศัยระบบฐานความรู้ (knowledge base system) เพื่อช่วยในการแปลความหมายของคำสั่ง
นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาปัญญาประดิษฐ์ (AI - Artificial Intelligence)
ตัวอย่างเช่น การพัฒนาความรู้และการจำในหุ่นยนต์ การสั่งงานโปรแกรมด้วยเสียง
ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์
 
เป็นตัวกลางในการแปลความหมายหรือภาษาของชุดคำสั่งที่มนุษย์เขียนให้อยู่ในรูปแบบของภาษาที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้
แปลงซอร์สโค้ด (source code) ให้เป็น รหัสคำสั่ง (object code)
 
แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
แอสแซมเบลอร์ (Assemblers)
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters)
คอมไพเลอร์ (Compilers)
 
แอสแซมเบลอร์ (Assemblers)
ตัวแปลภาษาของภาษาแอสแซมบลี
แปลความหมายสัญลักษณ์ชุดคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง
ใช้งานร่วมกับการเขียนโปรแกรมของภาษาระดับต่ำ (low-level language)
 
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters)
สำหรับการเขียนโปรแกรมในภาษาระดับสูง (high-level language)
แปลความหมายของชุดคำสั่งทีละบรรทัดคำสั่ง
เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก
 
คอมไพเลอร์ (Compilers)
ใช้กับการทำงานในภาษาระดับสูง (high-level language)
แปลความหมายของชุดคำสั่งที่เขียนทั้งหมดในคราวเดียวกันเป็นชุดของรหัสคำสั่งเก็บไว้ใช้เมื่อต้องการ
ไม่ต้องเสียเวลาไปแปลชุดคำสั่งซ้ำอีก
เหมาะกับการการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่และซับซ้อน
 
 

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไรบ้าง ได้อธิบาย
ตอบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้เองเฉพาะกรณี
2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป มีกี่ประเภท ได้ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ - สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
        - ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว
นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
         - ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย
มุ่งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆคน นิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย ซึ่งจะให้บริการข้อมูลต่างๆที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
         - ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
มักพบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือสมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี เป็นระบบปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใดได้อธิบาย
ตอบ  -ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
       - ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( Embedded OS ) เรา มักจะพบเห็นการใช้งานของระบบปฏิบัติการแบบฝังนี้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาด พกพา เช่น Palm, pocket PC, Smart phone รวมถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

4. โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับป้องกันปัญหาเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งโดยปกติมักจะมีการติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายหรือการทำงานกับบุคคลอื่นหลายๆคน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ และจะแก้ปัญหาหรือกำจัดไวรัสดังกล่าวได้อย่างไร ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความปลอดภัยและราบรื่นมากยิ่งขึ้น
5. นายอภิชาติต้องการเก็บข้อมูลไฟล์หลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใดได้อธิบาย
ตอบ ควรใช้โปรแกรมประเภทบีบอัดไฟล์ ซึ่งจะทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และเก็บไฟล์เป็นชิ้นงานเดียวกัน เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถแตกหรือแยกไฟล์ออกมาภายหลังได้ ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, WinZip เป็นต้น
6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง ได้ยกตัวอย่างประกอบ 3 โปรแกรม
ตอบ โปรแกรมประเภท word processing หรือโปรแกรมประมวลคำที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันเป็นอย่างดี พอจะยกตัวอย่าง 3 โปรแกรมดังนี้
1. Microsoft Word
2. Sun StarOffice Writer
3. Pladao Office Writer
7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่างๆของโปรแกรมแต่ละตัวมาจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมทีเดียว ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือ Microsoft Office, Adobe CS, Macromedia Studioเป็นต้น ซึ่งทำให้การใช้งานมีความง่ายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะโปรแกรมที่นำเอามารวมกันนั้นจะมีคุณสมบัติที่จัดอยู่ในกลุ่มการทำงานแบบเดียวกัน อีกทั้งยังทำให้มีราคาถูกลงกว่าการแยกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้ด้วย
8.นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่าย ควรใช้โปรแกรมประเภทใดได้อธิบาย
ตอบ ควรใช้โปรแกรมประเภทตารางคำนวณ ซึ่งสามารถสร้างรายงานการรับ-จ่ายเงินประจำวันอย่างง่ายๆได้ โดยป้อนข้อมูลและตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ต้องการลงไปในแผ่นตารางคำนวณนั้นและสามารถหาผลลัพธ์อย่างง่ายๆพร้อมทั้งพิมพ์รายงานสรุปยอดหรือเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่างๆออกมาเป็นกราฟได้
9. Internet Ralay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ เป็นโปรแกรมประเภทที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่ม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มที่จะสนทนาได้ตามต้องการ สามารถตอบโต้กันได้ได้ด้วยข้อความและคนอื่นๆในห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความนั้นได้พร้อมๆกัน เหมือนกับการพูดคุยในที่สาธารณะทั่วไป นอกจากนั้นยังสามารถเลือกสนทนาเพียงรายคนหรือเฉพาะตัวได้ แต่โปรแกรมประเภทส่งข้อความด่วนหรือ instant messaging อาจมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างจาก IRC บ้างคือ มุ่งเน้นให้ใช้งานเพื่อส่งหรือฝากข้อความที่ต้องการได้แบบทันทีและนิยมใช้สนทนากันแบบรายบุคคลมากกว่า
10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใดได้ให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ ครู อาจารย์หรือวิทยากรที่ต้องการนำเสนองานให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงานต่างๆเข้าไปได้มากกว่า ทำให้ผู้เข้าชมการนำเสนอดังกล่าวรับรู้ผลิตภัณฑ์หรือสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า
11.ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลประเภทเสียง
12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 รายการพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย
ตอบ  Web application ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างได้ดังนี้
1. Web base mail
เป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานรับ-ส่งอีเมล์ผ่านเว็บไซท์ที่ให้บริการ โดยเข้าไปใช้งานได้ตลอดเวลาและทุกๆสถานที่ สะดวกต่อการใช้งานเพราะไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอ่านเมล์ เพียงแค่ป้อนชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเข้าไปในระบบ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว
2. Bulletin board
เป็นโปรแกรมกระดานข่าว ที่มีไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ หรือสอบถามข้อมูลที่สนใจ โดยจะมีคนมาตอบคำถามหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยจะแสดงคำถามหรือหัวข้อที่มีการโพสต์ไว้ให้ผู้เข้าชมเห็นหรืออ่านได้ทุกคน บางระบบอาจจะมีการสงวนสิทธิ์เฉพาะสมาชิกได้
3. Guest book
เป็นโปรแกรมบนเว็บอีกประเภทหนึ่ง มักใช้สำหรับการลงบันทึกการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซท์นั้นๆคล้ายกับกระดานข่าว แต่ไม่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่มุ่งเน้นให้เขียนข้อความถึงเจ้าของเว็บไซท์หรือทีมงานนั้นๆมากกว่า
13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการเว็บไซต์ เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงานได้อธิบาย
ตอบ งานทางด้านการออกแบบและจัดการ website อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเพื่อช่วยเหลือการทำงานดังต่อไปนี้
1. โปรแกรมสำหรับออกแบบเว็บ
เพื่อใช้สำหรับการสร้างรูปแบบของเว็บเพจที่ต้องการ รวมถึงการจัดวางโครงสร้างทั่วไปของแต่ละเว็บเพจ โดยสามารถเลือกใช้โปรแกรมที่มีอยู่ได้ตามความต้องการ ที่รู้จักกันดี เช่น MicrosoftFrontpage, Macromedia Dreamweaver, NetObject Fusion เป็นต้น
2. โปรแกรมสำหรับส่งถ่ายข้อมูล
เพื่อให้การส่งข้อมูลไปเก็บไว้ยังเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการหรือ web server สามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อาจเลือกใชโปรแกรมที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Cute_FTP, WS_FTPเป็นต้น
3. โปรแกรมตกแต่งภาพทั่วไป
ใช้สำหรับการตกแต่งภาพที่จะนำไปใช้เผยแพร่บนเว็บไซท์ให้มีความสวยงามและน่าสนใจ อาจเลือกใช้จากโปรแกรมที่มีความสามารถหลากหลายและเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Adobe Photoshopเป็นต้น
14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ คือกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือพัฒนาต่อได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดด้วย ซึ่งโค้ดที่ได้มานั้นจะมาจากการพัฒนาด้วยทีมงานที่หลากหลายทั่วโลก โดยไม่ได้มุ่งหวังผลทางการค้าแต่อย่างใด
15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ ภาษาการเขียนโปรแกรมกลุ่มนี้จะช่วยให้รูปแบบการเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้เพียงแค่หยิบหรือวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยที่ผู้เขียนโปรแกรมอาจจะรู้เพียงแค่ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจะทำได้อย่างไร เพราะถือเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากนั้นคอยจัดการแทนเอง ทำให้สร้างคำสั่งหรือรูปแบบหลักๆได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการอบรมการเขียนโปรแกรมมากนัก เพียงแต่ใช้ความรู้พื้นฐานในการเขียนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอามาใช้ได้เลยทันที
16. จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบ
ตอบ - ตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 ไปใช้ เช่น
        - ระบบหุ่นยนต์โดยการสร้างความรู้และการจำไว้ในตัวหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสั่งการให้ทำงานบางอย่างที่ต้องการ
         - ระบบการสั่งงานด้วยเสียง
อาศัยหลักการป้อนข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์หรือป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น